พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
เหรียญหล่อ ระฆั...
เหรียญหล่อ ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น
พระวัดระฆังหลังค้อน ได้สถาปนา (สร้าง) ขึ้น ๒ วาระ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
เจ้าประคุณสมเด็จฯ (เจริญ) บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ และได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นตามลำดับ จนถึงเป็นพระราชาคณะ เปรียญธรรม ๗ ประโยค เชี่ยวชาญทั้งวิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง หลังจากที่ สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์) ได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้น แล้วย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐
เจ้าประคุณสมเด็จฯ (เจริญ) นับเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ รูปที่ ๓ นับจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์) ท่านได้มีส่วนช่วยสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ในการสร้างพระเครื่อง สมเด็จปิลันทน์ ซึ่งแน่นอนว่า ท่านย่อมได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจากตำราดั้งเดิมของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในการสร้างพระเครื่องด้วย
การสร้างพระเครื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ย่อมแน่นอนว่า ไม่สร้างให้เหมือน หรือล้อเลียนของอาจารย์ จะเห็นได้ว่า แม้แต่สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์เองก็ไม่ยอมสร้างพระเครื่องเลียนแบบของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้เป็นอาจารย์ เช่นกัน
พระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) นั้น ท่านได้สร้างให้แตกต่างจากของพระพุทธบาทปิลันทน์ และของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) โดยสิ้นเชิง คือ ท่านได้สร้างเป็น พระเนื้อโลหะผสม ด้วยวิธีเททองหล่อแบบโบราณ โดยมี พระอาจารย์ภา วัดระฆัง เป็นผู้ดำเนินงาน
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างวาระแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ซ่อมแซมพระอุโบสถวัดระฆัง หลังเก่า
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ บนบัลลังก์บัว ๒ ชั้น ในซุ้มปรกโพธิ์เม็ด องค์เล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. สูงประมาณ ๒.๐ ซม. เนื้อทองผสมที่ใช้ในการหล่อนั้น มีชนวนรูปหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตร และชนวนรูปหล่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก
กรรมวิธีการหล่อพระ ในวาระแรก พ.ศ.๒๔๖๒ เป็นการหล่อแบบเป็นเส้นยาวๆ (๑ เส้นมีพระหลายองค์เป็นแนวยาว) เมื่อนำพิมพ์พระเข้าหุ่นดินแล้ววางบนรางโลหะ เสร็จแล้วทุบหุ่นดินออก และเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้สิ่ว หรือเครื่องมือมีคมตัดพระด้านบน และด้านล่าง ออกเป็นองค์ๆ
จากการเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้ค้อนนี้เอง จึงเป็นที่มาของคำว่า หลังค้อน หรืออาจเป็นเพราะว่า มีพระส่วนหนึ่งซึ่งด้านหลังองค์พระมีรอยบุบยุบลงไป เหมือนโดนค้อนทุบก็เป็นได้ และพระส่วนใหญ่ด้านหลังจะเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างวาระแรก พ.ศ.๒๔๖๒ มีข้อสังเกต คือ องค์พระจะมีรอยตัดด้านบนและด้านล่าง หรือที่เซียนพระทั้งหลายเรียกกันติดปากว่า ตัดหัวตัดท้าย ด้านข้าง ขององค์พระทั้ง ๒ ด้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ เพราะขณะเททองหล่อพระ ขอบข้างชนกับรางโลหะ จะราบเรียบไปเอง แต่ก็มีบ้าง ที่มีการตกแต่งด้วยตะไบ เพื่อความเรียบร้อย หรือเพื่อให้สวยงาม ซึ่งจะมีร่องรอยเดิมให้เห็นบ้างในบางองค์ และพระส่วนใหญ่จะมีความหนามากกว่าการสร้างในวาระที่ ๒
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างในวาระที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๓ เนื่องจากสภาวะการเมืองโลกในขณะนั้น ส่อเค้าว่า จะเกิดสงคราม และประเทศไทยก็ตกอยู่ในสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ช่วงเวลานั้น วัดต่างๆ ในเมืองไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จะสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร-ตำรวจ ที่จะต้องออกไปรบ และส่วนหนึ่งเพื่อแจกเป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชน
วัดระฆังโฆสิตาราม ก็เช่นกัน ได้ดำเนินการจัดสร้าง พระวัดระฆังหลังค้อน ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่กรรมวิธีการหล่อนั้น แตกต่างไปจากการสร้างวาระแรก คือ เป็นการเทหล่อโบราณแบบเข้าช่อ ตัดก้านชนวน (เหมือนกิ่งไม้) ช่อหนึ่งอาจมีพระ ๑๕-๓๐ องค์ พอเทเสร็จแล้วจะทุบหุ่นดินออก ตัดเอาองค์พระออกจากช่อชนวน แล้วนำพระไปตกแต่งขอบ หรือส่วนที่เป็นเนื้อเกินออกไปให้เรียบร้อย
กล่าวโดยสรุป พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างในวาระที่ ๒ นั้น จะมีช่อชนวน และมีร่องรอยการตกแต่งขอบรอบองค์พระทุกด้าน เพื่อความเรียบร้อย ขณะเดียวกัน ความหนาขององค์พระ ส่วนใหญ่จะหนาน้อยกว่าองค์พระที่สร้างในวาระแรก
ผู้เข้าชม
33 ครั้ง
ราคา
โทรถาม
สถานะ
โชว์พระ
โดย
digitalplus
ชื่อร้าน
มหาหงษ์ พระเครื่อง
ร้านค้า
mhahong.99wat.com
โทรศัพท์
0863359061
ไอดีไลน์
uchalit
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา / 035-1-73681-7
พระกลีบบัว หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเ
ปลัดขิก หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบ
พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก พิมพ์เ
พระเนื้อผงคลุกรัก พิมพ์พระเกจิ
พระผงกระดูกผี วัดโพธิ์ ท่าเตีย
พระเนื้อผง กรุทัพข้าว พิมพ์ พร
พระกริ่ง พิมพ์พระกริ่งโสฬสมุนี
พระปิดตา หลวงพ่อทองสุข วัดสะพา
พระกรุ เนื้อชินเงิน พิมพ์นางพิ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เจริญสุข
Aofdantai
ทองธนบุรี
Erawan
Aoottoo99
จ่าดี พระกรุ
vanglanna
Le29Amulet
ศิษย์หลวงปู่หมุน
Classicpra
ponsrithong2
น้ำตาลแดง
ศักดา พระเครื่อง
บ้านพระหลักร้อย
someman
Muthita
ชา วานิช
Johnny amulet
ระ คลองสาม
Kanamulet
termboon
ep8600
หริด์ เก้าแสน
ภูมิ IR
แจ่ม
โกหมู
เปียโน
กรัญระยอง
Nithiporn
เจแวงน้อย
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1085 คน
เพิ่มข้อมูล
เหรียญหล่อ ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญหล่อ ระฆังหลังฆ้อน ยุคต้น
รายละเอียด
พระวัดระฆังหลังค้อน ได้สถาปนา (สร้าง) ขึ้น ๒ วาระ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี
เจ้าประคุณสมเด็จฯ (เจริญ) บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่เยาว์วัย ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์ และได้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นตามลำดับ จนถึงเป็นพระราชาคณะ เปรียญธรรม ๗ ประโยค เชี่ยวชาญทั้งวิปัสสนาธุระ และคันถธุระ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง หลังจากที่ สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์) ได้เลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้น แล้วย้ายไปครองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐
เจ้าประคุณสมเด็จฯ (เจริญ) นับเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ รูปที่ ๓ นับจาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ.ทัด เสนีย์วงศ์) ท่านได้มีส่วนช่วยสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ ในการสร้างพระเครื่อง สมเด็จปิลันทน์ ซึ่งแน่นอนว่า ท่านย่อมได้รับการถ่ายทอดพุทธาคมจากตำราดั้งเดิมของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในการสร้างพระเครื่องด้วย
การสร้างพระเครื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ย่อมแน่นอนว่า ไม่สร้างให้เหมือน หรือล้อเลียนของอาจารย์ จะเห็นได้ว่า แม้แต่สมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์เองก็ไม่ยอมสร้างพระเครื่องเลียนแบบของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้เป็นอาจารย์ เช่นกัน
พระวัดระฆังหลังค้อน ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) นั้น ท่านได้สร้างให้แตกต่างจากของพระพุทธบาทปิลันทน์ และของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) โดยสิ้นเชิง คือ ท่านได้สร้างเป็น พระเนื้อโลหะผสม ด้วยวิธีเททองหล่อแบบโบราณ โดยมี พระอาจารย์ภา วัดระฆัง เป็นผู้ดำเนินงาน
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างวาระแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ซ่อมแซมพระอุโบสถวัดระฆัง หลังเก่า
พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิ บนบัลลังก์บัว ๒ ชั้น ในซุ้มปรกโพธิ์เม็ด องค์เล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. สูงประมาณ ๒.๐ ซม. เนื้อทองผสมที่ใช้ในการหล่อนั้น มีชนวนรูปหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตร และชนวนรูปหล่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ผสมอยู่เป็นจำนวนมาก
กรรมวิธีการหล่อพระ ในวาระแรก พ.ศ.๒๔๖๒ เป็นการหล่อแบบเป็นเส้นยาวๆ (๑ เส้นมีพระหลายองค์เป็นแนวยาว) เมื่อนำพิมพ์พระเข้าหุ่นดินแล้ววางบนรางโลหะ เสร็จแล้วทุบหุ่นดินออก และเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้สิ่ว หรือเครื่องมือมีคมตัดพระด้านบน และด้านล่าง ออกเป็นองค์ๆ
จากการเคาะพระออกจากรางโลหะ โดยใช้ค้อนนี้เอง จึงเป็นที่มาของคำว่า หลังค้อน หรืออาจเป็นเพราะว่า มีพระส่วนหนึ่งซึ่งด้านหลังองค์พระมีรอยบุบยุบลงไป เหมือนโดนค้อนทุบก็เป็นได้ และพระส่วนใหญ่ด้านหลังจะเรียบ ไม่มีอักขระเลขยันต์ใดๆ
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างวาระแรก พ.ศ.๒๔๖๒ มีข้อสังเกต คือ องค์พระจะมีรอยตัดด้านบนและด้านล่าง หรือที่เซียนพระทั้งหลายเรียกกันติดปากว่า ตัดหัวตัดท้าย ด้านข้าง ขององค์พระทั้ง ๒ ด้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีร่องรอยการตกแต่งด้วยตะไบ เพราะขณะเททองหล่อพระ ขอบข้างชนกับรางโลหะ จะราบเรียบไปเอง แต่ก็มีบ้าง ที่มีการตกแต่งด้วยตะไบ เพื่อความเรียบร้อย หรือเพื่อให้สวยงาม ซึ่งจะมีร่องรอยเดิมให้เห็นบ้างในบางองค์ และพระส่วนใหญ่จะมีความหนามากกว่าการสร้างในวาระที่ ๒
พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างในวาระที่ ๒ ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๘๓ เนื่องจากสภาวะการเมืองโลกในขณะนั้น ส่อเค้าว่า จะเกิดสงคราม และประเทศไทยก็ตกอยู่ในสภาพที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องเข้าร่วมรบกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ช่วงเวลานั้น วัดต่างๆ ในเมืองไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จะสร้างพระเครื่องขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ทหาร-ตำรวจ ที่จะต้องออกไปรบ และส่วนหนึ่งเพื่อแจกเป็นขวัญกำลังใจแก่ประชาชน
วัดระฆังโฆสิตาราม ก็เช่นกัน ได้ดำเนินการจัดสร้าง พระวัดระฆังหลังค้อน ขึ้นอีกวาระหนึ่ง แต่กรรมวิธีการหล่อนั้น แตกต่างไปจากการสร้างวาระแรก คือ เป็นการเทหล่อโบราณแบบเข้าช่อ ตัดก้านชนวน (เหมือนกิ่งไม้) ช่อหนึ่งอาจมีพระ ๑๕-๓๐ องค์ พอเทเสร็จแล้วจะทุบหุ่นดินออก ตัดเอาองค์พระออกจากช่อชนวน แล้วนำพระไปตกแต่งขอบ หรือส่วนที่เป็นเนื้อเกินออกไปให้เรียบร้อย
กล่าวโดยสรุป พระวัดระฆังหลังค้อน ที่สร้างในวาระที่ ๒ นั้น จะมีช่อชนวน และมีร่องรอยการตกแต่งขอบรอบองค์พระทุกด้าน เพื่อความเรียบร้อย ขณะเดียวกัน ความหนาขององค์พระ ส่วนใหญ่จะหนาน้อยกว่าองค์พระที่สร้างในวาระแรก
ราคาปัจจุบัน
โทรถาม
จำนวนผู้เข้าชม
34 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
digitalplus
ชื่อร้าน
มหาหงษ์ พระเครื่อง
URL
http://www.mhahong.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0863359061
ID LINE
uchalit
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา / 035-1-73681-7
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี